ท่ารำมโนราห์
ท่ารำมโนราห์
ท่ารำของโนราที่เป็นหลัก ๆ นั้นเมื่อแกะออกมารวมประมาณ 83 ท่ารำ ดังนี้
- ท่าประถม ( ปฐม )
- ตั้งต้นเป็นประถม
- ถัดมาพระพรหมสี่หน้า
- สอดสร้อยห้อยเป็นพวงมาลา
- เวโหนโยนช้า
- ให้น้องนอน
- พิสมัยร่วมเรียง
- เคียงหมอน
- ท่าต่างกัน
- หันเป็นมอน
- มรคาแขกเต้าบินเข้ารัง
- กระต่ายชมจันทร์
- จันทร์ทรงกลด
- พระรถโยนสาส์น
- มารกลับหลัง
- ชูชายนาดกรายเข้าวัง
- กินนรร่อนรำ
- เข้ามาเปรียบท่า
- พระรามาน้าวศิลป์
- มัจฉาล่องวาริน
- หลงใหลไปสิ้นงามโสภา
- โตเล่นหาง
- กวางโยนตัว
- รำยั่วเอแป้งผัดหน้า
- หงส์ทองลอยล่อง
- เหราเล่นน้ำ
- กวางเดินดง
- สุริวงศ์ทรงศักดิ์
- ช้างสารหว้านหญ้า
- ดูสาน่ารัก
- พระลักษณ์แผลงศรจรลี
- ขี้หนอนฟ้อนฝูง
- ยูงฟ้อนหาง
- ขัดจางหยางนางรำทั้งสองศรี
- นั่งลงให้ได้ที่
- ชักสีซอสามสายย้ายเพลงรำ
- กระบี่ตีท่า
- จีนสาวไส้
- ชะนีร่ายไม้
- เมขลาล่อแก้ว
- ชักลำนำ
- เพลงรำแต่ก่อนครูสอนมา
- ท่าสิบสอง
- พนมมือ
- จีบซ้ายตึงเทียมบ่า
- จีบขวาตึงเทียมบ่า
- จับซ้ายเพียงเอว
- จีบขวาเพียงเอว
- จีบซ้ายไว้หลัง
- จีบขวาไว้หลัง
- จีบซ้ายเพียงบ่า
- จีบขวาเพียงบ่า
- จีบซ้ายเสมอหน้า
- จีบขวาเสมอหน้า
- เขาควาย
- บทครูสอน
- ครูเอยครูสอน
- เสดื้องกร
- ต่อง่า
- ผูกผ้า
- ทรงกำไล
- ครอบเทริดน้อย
- จับสร้อยพวงมาลัย
- ทรงกำไลซ้ายขวา
- เสดื้องเยื้องข้างซ้าย
- ตีค่าได้ห้าพารา
- เสดื้องเยื้องข้างขวา
- ตีค่าได้ห้าตำลึงทอง
- ตีนถับพนัก
- มือชักแสงทอง
- หาไหนจะได้เสมือนน้อง
- ทำนองพระเทวดา
- บทสอนรำ
- สอนเจ้าเอย
- สอนรำ
- รำเทียใบ่า
- ปลดปลงลงมา
- รำเทียมพก
- วาดไว้ฝ่ายอก
- ยกเป็นแพนผาหลา
- ยกสูงเสมอหน้า
- เรียกช่อระย้าพวงดอกไม้
- โคมเวียน
- วาดไว้ให้เสมือนรูปเขียน
- กระเชียนปาดตาล
- พระพุทธเจ้าห้ามมาร
- พระรามจะข้ามสมุทร
[แก้]พิธีกรรม
[แก้]โนราโรงครู
โนราโรงครูมี 2 ชนิด คือ
- โรงครูใหญ่ หมายถึงการรำโนราโรงครูอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะต้องกระทำต่อเนื่องกัน 3 วัน 3 คืนจึงจะจบพิธี โดยจะเริ่มในวันพุธ ไปสิ้นสุดในวันศุกร์ และจะต้องกระทำเป็นประจำทุกปี หรือทุกสามปี ทุกห้าปี ซึ่งต้องใช้เวลาเตรียมการกันนานและใช้ทุนทรัพย์สูง จึงเป็นการยากที่จะทำได้
- โรงครูเล็ก หมายถึงการรำโรงครูอย่างย่นย่อ คือใช้เวลาเพียง 1 วันกับ 1 คืน โดยปกติจะเริ่มในตอนเย็นวันพุธแล้วไปสิ้นสุดในวันพฤหัสบดี ซึ่งการรำโรงครูไม่ว่าจะเป็นโรงครูใหญ่หรือโรงครูเล็กก็มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวการณ์และความพร้อม การรำโรงครูเล็ก เรียกอีกอย่าง คือ " การค้ำครู "
[แก้]โนราโรงครูท่าแค
การจัดพิธีกรรมโนราโรงครูวัดท่าแค เริ่มตั้งแต่การไหว้พระภูมิโรงพิธีพระ แล้วเข้าโรงในวันแรกซึ่งเป็นวันพุธตอนเย็น จากนั้นจึงทำพิธีเบิกโรง ลงโรง กาศครู เชิญครู กราบครู โนราใหญ่รำถวายครู จับบทตั้งเมือง การรำทั่วไป วันที่สองซึ่งเป็นวันพฤหัสบดีถือเป็นพิธีใหญ่ เริ่มตั้งแต่ ลงโรง กาศโรง เชิญครู เอาผ้าหุ้มต้นโพธิ์ที่เชื่อกันว่าเป็นที่เผาศพและฝังกระดูกของขุนศรีศรัทธา เซ่นไหว้ครูหมอตายายโนราทั่วไป รำถวายครู การรำสอดเครื่องสอดกำไล ทำพิธีตัดจุก ทำพิธีครอบเทริด หรือผูกผ้าใหญ่ พิธีแก้บนด้วยการรำถวายครูและออกพราน พิธีผูกผ้าปล่อย การรำทั่วไปในเวลากลางคืน ส่วนวันที่สาม เริ่มตั้งแต่ลงโรง กาศครู เชิญครู การรำทั่วไป รำบทสิบสองเพลง สิบสองบท เหยียบเสน ตัดผมผีช่อ รำบทคล้องหงส์ รำบทแทงเข้ เป็นอันเสร็จพิธี